เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 14. ตุวฏกสุตตนิทเทส
5. กิเลสเครื่องฟูใจคือทิฏฐิ 6. กิเลสเครื่องฟูใจคือกิเลส
7. กิเลสเครื่องฟูใจคือกรรม
ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจนั้น คือ ไม่พึงให้เกิด ไม่พึงให้เกิดขึ้น ไม่พึงให้
บังเกิด ไม่พึงให้บังเกิดขึ้น
คำว่า ในที่ไหน ๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก
หรือทั้งภายในและภายนอก รวมความว่า ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจ ในที่ไหน ๆ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
คลื่นไม่เกิดในส่วนกลางทะเล ทะเลเรียบอยู่ ฉันใด
ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ฉันนั้น
ภิกษุไม่พึงก่อกิเลสเครื่องฟูใจในที่ไหน ๆ
[156] (พระพุทธเนรมิตทูลถามว่า)
พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง
ได้ทรงแสดงธรรมที่เป็นพยาน อันเป็นเครื่องกำจัดอันตราย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปฏิปทา
คือปาติโมกข์ หรือแม้สมาธิ
คำว่า ได้ทรงแสดง ในคำว่า พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง
ได้ทรงแสดง ได้แก่ ได้ทรงแสดง คือ ได้ทรงชี้แจง ตรัสบอก แสดง บัญญัติ
กำหนด เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ รวมความว่า ได้ทรงแสดง

ว่าด้วยพระจักษุ 5 ชนิด
คำว่า ผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคมีพระจักษุแจ่มแจ้ง
ด้วยพระจักษุ 5 ชนิด คือ
1. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยมังสจักขุบ้าง
2. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยทิพพจักขุบ้าง
3. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยปัญญาจักขุบ้าง
4. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยพุทธจักขุบ้าง
5. มีพระจักษุแจ่มแจ้งด้วยสมันตจักขุบ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :424 }